งานเฉลิมฉลอง ของ งานฉลอง 2,500 ปีแห่งจักรวรรดิเปอร์เซีย

การเฉลิมฉลอง 2,500 ปีของจักรวรรดิเปอร์เซีย การเฉลิมฉลอง 2,500 ปีของจักรวรรดิเปอร์เซีย การเฉลิมฉลอง 2,500 ปีของจักรวรรดิเปอร์เซีย

งานเฉลิมฉลองเริ่มขึ้นในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1971 เมื่อชาห์และชาห์บานู เสด็จพระราชดำเนินไปยังสุสานหลวงปาซาร์กาดเพื่อทรงสักการะพระเจ้าไซรัสมหาราช อีกสองวันต่อมาชาห์และมเหสีทรงต้อนรับแขกที่มาถึง ซึ่งส่วนใหญ่จะเสด็จและเดินทางโดยตรงจากสนามบินชีราซ งานกาลาดินเนอร์ใหญ่จัดในคืนวันที่ 14 ตุลาคม เพื่อฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของชาห์บานู สมาชิกราชวงศ์และประมุขแห่งรัฐรวมตัวกันที่โต๊ะขนาดใหญ่ในห้องจัดเลี้ยง เพื่อเสวยและรับประทานอาหารค่ำแบบพิเศษ ซึ่งจานในงานเลี้ยงดังกล่าวจำนวน 10,000 ใบ ผลิตโดยบริษัท Spode ผู้ผลิตเครื่องเคลือบสัญชาติอังกฤษ โดยแต่ละจานตกแต่งด้วยสีเทอร์ควอยซ์และสีทอง พร้อมด้วยตราแผ่นดินของชาห์ อีกทั้งยังมีไวน์ Dom Perignon Rosé 1959 เพื่อการดื่มฉลอง

อาหารและไวน์สำหรับการเฉลิมฉลองจัดทำโดยร้านอาหารปารีส Maxim's[8] แขก 600 คน/องค์ รับประทานอาหารร่วมกันนานกว่าห้าชั่วโมงครึ่ง ถือเป็นงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการที่ยาวนานที่สุดและหรูหราที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ดังที่จารึกไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ในงานดังกล่าวมีการแสดง Son et lumière Polytope of Persepolis ออกแบบโดย Iannis Xenakis และคอนเสิร์ตดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ Persepolis ที่ประพันธ์สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ[9] เป็นการปิดท้าย วันรุ่งขึ้นมีขบวนพาเหรดทหารชุดใหญ่ของกองทัพของจักรวรรดิอิหร่านในยุคต่าง ๆ โดยทหารอิหร่าน 1,724 คน แต่งกายด้วยชุดย้อนยุค ตามมาด้วยตัวแทนของกองทัพจักรวรรดิพร้อมวงโยธวาทิตขนาดใหญ่ ควบคุมโดยนักดนตรีทหารและบรรเลงดนตรีสำหรับขบวนพาเหรด แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ วงดนตรีสมัยใหม่ที่เล่นเครื่องดนตรีตะวันตก และวงดนตรีแบบดั้งเดิมที่สวมเครื่องแบบของนักดนตรีจากยุคต่าง ๆ ของอิหร่าน ในตอนเย็นมีการจัด "งานเลี้ยงเปอร์เซียแบบดั้งเดิม" ที่เป็นทางการน้อยกว่าวันก่อนหน้าในห้องจัดเลี้ยงเดิม ซึ่งเป็นการปิดท้ายงานที่เมืองเพอร์เซโพลิส[10]

พิธีเปิดหอคอยแชฮ์ยอด

ในวันสุดท้าย พระเจ้าชาห์ทรงเปิดหอคอยแชฮ์ยอด (หลังการปฏิวัติอิหร่านได้เปลี่ยนชื่อเป็นหอคอยออซอดี) ณ กรุงเตหะราน เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว หอคอยแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เปอร์เซียอีกด้วย ในนั้นมีการจัดแสดงกระบอกไซรัส ซึ่งพระเจ้าชาห์ทรงประกาศว่าเป็น "กฎบัตรสิทธิมนุษยชน ฉบับแรกในประวัติศาสตร์"[11][12] กระบอกนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการอีกด้วย และการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกของพระเจ้าชาห์ ณ สุสานหลวงไซรัสเป็นการยกย่องอิสรภาพตามที่ได้ประกาศไว้เมื่อสองพันปีก่อน ในวันสุดท้ายของพิธี พระเจ้าชาห์ทรงสักการะ เรซา ชาห์ ปาห์ลาวี พระบิดาของพระองค์ ณ สุสานทางใต้ของเตหะราน[10]

ประมุขของสองในสามสถาบันกษัตริย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในขณะนั้น เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานนี้ นั่นคือ ชาห์ และจักรพรรดิฮัยเลอ ซึลลาเซที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย ส่วนจักรพรรดิฮิโรฮิโตะแห่งญี่ปุ่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าชายมิกาซะ พระอนุชา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เมื่อถึงปลายทศวรรษ 1970 ทั้งระบอบกษัตริย์ของเอธิโอเปียและอิหร่านถูกล้มล้าง

แหล่งที่มา

WikiPedia: งานฉลอง 2,500 ปีแห่งจักรวรรดิเปอร์เซีย https://www.britishmuseum.org/collection/object/W_... http://www.spiegel.de/einestages/schah-von-persien... https://web.archive.org/web/20021108155019/http://... http://iranian.com/CyrusKadivar/2002/January/2500/ https://web.archive.org/web/20211011154253/https:/... http://www.clingendael.nl/sites/default/files/2009... http://www.angelfire.com/empire/imperialiran/perse... https://www.theguardian.com/world/2005/sep/22/arts... https://books.google.com/books?id=LmSFAgAAQBAJ&pg=... https://web.archive.org/web/20160222192607/http://...